พระธาตุนาดูน อำเภอนาดูน จังหวัดมหาสารคาม
• บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15
• ต่อมาจึงได้สร้างองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2530 เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค พื้นที่โดยรอบได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสิรมกิจการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น “พุทธมณฑลอีสาน” รอบองค์พระธาตุมีบริเวณกว้างขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกขชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของชาวมหาสารคาม
• บริเวณที่ตั้งขององค์พระธาตุนาดูน แต่เดิมเป็นที่นาของนายทองดี ปะวะภูตา ราษฎรหมู่บ้านนาดูน อันเป็นที่ตั้งเดิมของเมืองโบราณนครจำปาศรี ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2522 มีการขุดพบสถูบบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ขนาดเท่ากับเมล็ดข้าวสารหักสีขาวขุ่น คล้ายแก้วมุกดา ซึ่งบรรจุในผอบซ้อนกันสามชั้น ชั้นในเป็นทองคำ ชั้นกลางเป็นเงิน และชั้นนอกเป็นสำริด รวมถึงพระพุทธรูป พระพิมพ์ลายหลายแบบจำนวนมาก เมื่อกรมศิลปากรมาสำรวจพบว่า บริเวณนี้เดิมเป็นที่ตั้งของเมืองโบราณ นครจัมปาศรี ซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพุทธศาสนาและวัฒนธรรม ตั้งแต่สมัยทวาราวดี ในช่วงพุทธศตวรรษที่ 13-15
• ต่อมาจึงได้สร้างองค์พระธาตุนาดูนขึ้นในบริเวณที่ขุดพบสถูป องค์พระธาตุมีความสูง 50.50 เมตร ภายในประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุที่ขุดพบ ก่อสร้างแล้วเสร็จในปีพ.ศ. 2530 เป็นปูชนียสถานที่สร้างขึ้นเพื่อสิริมงคลแก่ภูมิภาค พื้นที่โดยรอบได้ถูกพัฒนาเพื่อเป็นศูนย์กลางส่งเสิรมกิจการพระพุทธศาสนาและศิลปวัฒนธรรม ของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกขานว่าเป็น “พุทธมณฑลอีสาน” รอบองค์พระธาตุมีบริเวณกว้างขวาง จัดแต่งเป็นสวนรุกขชาติ ปลูกต้นไม้ในพุทธประวัติ นับเป็นสถานที่สำคัญทางพระพุทธศาสนาคู่บ้านคู่เมืองของชาวมหาสารคาม
คำนมัสการพระธาตุนาดูน : อะติเตกิระ จำปาศรีนะคะเร สัมมาสัมพุทธะ สารีริกธาตุ นาตุละมัง นะคะระฐาเนวะ มหาสาระคามัง นะคะระสีมัง ปัจจุปันนัญจะ สิระสานะมามิ (สิระสานะมามะ)
• อานิสงส์ที่ได้รับ : เพิ่มพูนบารมี ศูนย์รวมความดี บารมีแดนอีสาน
• อานิสงส์ที่ได้รับ : เพิ่มพูนบารมี ศูนย์รวมความดี บารมีแดนอีสาน
• แหล่งท่องเที่ยวใกล้เคียง
• พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาและพัฒนาการของเมืองโบราณนครจำปาศรี เมืองซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในยุคทวาราวดี ยังมีเรื่องราวการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุเป็นศูนย์กลางในการส่งเสิรมกิจการของพุทธศาสนาประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า พุทธมณฑลอีสาน เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.30-16.30 น.
• สถาบันวิจัยรุกขเวช ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ ทั้งสวนสมุนไพร ลานไผ่ พิพิธภัณฑ์โรงเกวียนอีสาน พิพิธภัณฑ์เรือนอีสาน จำลองบ้านผู้ไทย บ้านประมง บ้านดนตรี บ้านเครื่อง มือดักสัตว์ บ้านผ้าทอ และบ้านหมอยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 043-723539
• เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน แหล่งดูนกและศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศที่ดีอีกแห่งของอีสาน ทั้งยังเป็นถิ่นอาศัยของปูน้ำจืดที่สวยงาม ชาวบ้านเรียกว่า ปูแป้ง ต่อมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานชื่อ จึงเรียกว่า “ปูทูลกระหม่อม” ปูชนิดนี้ตัวใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลากหลายสี ทั้งม่วง ส้ม เหลือง และขาว
• พิพิธภัณฑ์นครจำปาศรี จัดแสดงเรื่องราวความเป็นมาและพัฒนาการของเมืองโบราณนครจำปาศรี เมืองซึ่งมีความสำคัญในฐานะศูนย์กลางพระพุทธศาสนาและวัฒนธรรมในยุคทวาราวดี ยังมีเรื่องราวการค้นพบพระบรมสารีริกธาตุเป็นศูนย์กลางในการส่งเสิรมกิจการของพุทธศาสนาประจำภูมิภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือที่เรียกว่า พุทธมณฑลอีสาน เปิดให้เข้าชมวันจันทร์-วันเสาร์ เวลา 08.30-16.30 น.
• สถาบันวิจัยรุกขเวช ร่มรื่นด้วยพรรณไม้ ทั้งสวนสมุนไพร ลานไผ่ พิพิธภัณฑ์โรงเกวียนอีสาน พิพิธภัณฑ์เรือนอีสาน จำลองบ้านผู้ไทย บ้านประมง บ้านดนตรี บ้านเครื่อง มือดักสัตว์ บ้านผ้าทอ และบ้านหมอยา เปิดให้เข้าชมทุกวัน สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ โทร. 043-723539
• เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดูนลำพัน แหล่งดูนกและศึกษาเรียนรู้ระบบนิเวศที่ดีอีกแห่งของอีสาน ทั้งยังเป็นถิ่นอาศัยของปูน้ำจืดที่สวยงาม ชาวบ้านเรียกว่า ปูแป้ง ต่อมา สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าจุฬาภรณ์วลัยลักษณ์ ทรงพระราชทานชื่อ จึงเรียกว่า “ปูทูลกระหม่อม” ปูชนิดนี้ตัวใหญ่กว่าปูนา ลำตัวมีหลากหลายสี ทั้งม่วง ส้ม เหลือง และขาว
วัดป่าเกาะเกิ้ง อำเภอ กันทรวิชัย จังหวัด มหาสารคาม
ในช่วงวันหยุดสุดสัปดาห์ มีแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดมหาสารคาม ที่จะเชิญชวนทุกท่านไปสัมผัส ซึ่งมีผู้คนนิยมมาถ่ายรูป มาเซลฟี กันมาก ที่แห่งนั้นก็คือสะพานไม้ วัดป่าเกาะเกิ้ง ซึ่งเป็นสะพานไม้ทอดยาว ระยะทาง 145 เมตร นอกจากมาถ่ายรูปกันแล้ว ยังได้มาทำบุญ ให้อาหารปลากันด้วย...ติดตามได้จากรายงาน |
สะพานไม้ที่ดูท่าทาง มั่นคงแข็งแรง ขนาดช้างหนัก 2.5 ตัน ยังข้ามได้สบาย แห่งนี้ ก็คือ สะพานไม้วัดป่าเกาะเกิ้ง ตั้งอยู่ที่ ตำบลเกิ้ง อำเภอเมือง จังหวัดมหาสารคาม ทางเข้าวัดป่าเกาะเกิ้ง ที่มีความยาวประมาณยาว 145 เมตร เป็นสะพานไม้ที่สร้างขึ้นมาใหม่เมื่อสามปีก่อน เพื่อให้ชาวบ้าน ที่จะมาทำบุญที่วัดป่าเกาะเกิ้ง สามารถ ข้ามไป มาได้สะดวก เนื่องจากแต่เดิม จะข้ามด้วยเรือซึ่งไม่สะดวกและอันตราย ดังนั้น พระในวัดจึงได้ร่วมกับชาวบ้าน นิสิต นักศึกษาจาก มหาวิทยาลัยมหาสารคาม มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม วิทยาลัยเทคนิค และมูลนิธิต่างๆ มาร่วมด้วยช่วยกันสร้างสะพานนี้ขึ้น
สำหรับไม้ที่นำมาสร้างเป็นสะพาน นั้น ส่วนใหญ่ ได้มาจากผู้มีจิตศรัทธานำมาบริจาค พระภิกษุสงฆ์ และชาวบ้านช่วยกันสร้างและบูรณะซ่อมแซมจนสวยงามแข็งแรงเพื่อรองรับ ญาติโยมที่จะมาทำบุญและปฏิบัติธรรมที่วัดแห่งนี้ ขณะเดียวกันสะพานไม้แห่งนี้ ก็ได้กลายเป็นสถานที่ที่นักท่องเที่ยว หรือบรรดาช่างภาพมืออาชีพ มือสมัครเล่น มาถ่ายภาพ มาเซลฟี กันเป็นจำนวนมาก จนกลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวอีกหนึ่งของจังหวัดมหาสารคาม
|
สะดืออีสาน อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
"สะดืออีสาน" หรือ "จุดศูนย์กลางของภาคอีสาน" เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่น่าสนใจแห่งหนึ่งในเขตพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม มีการจัดตกแต่งเป็นสวนสาธารณะที่ร่มรื่น สามารถมองเห็นวิวสวยของ "บึงกุย" บึงน้ำขนาดใหญ่ได้อย่างสวยงาม ซึ่งเหมาะแก่การเดินทางมาพักผ่อนหย่อนใจ และเก็บภาพประทับใจไว้เป็นที่ระลึก
ทั้งนี้ สะดืออีสานแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเพื่อให้เป็นสัญลักษณ์ที่เปรียบเสมือนเป็นจุดพิกัดกึ่งกลางของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยนักท่องเที่ยวส่วนใหญ่มักนิยมเดินทางมาเก็บภาพประทับใจ เพื่อเป็นการบันทึกความทรงจำว่าครั้งหนึ่งได้เคยมายืนอยู่ ณ ศูนย์กลางของภาคอีสานแล้ว
วัดหนองหูลิง ตั้งอยู่เลขที่ 28 หมู่ 7 ต.มิตรภาพ อ.แกดำ จ.มหาสารคาม สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ก่อตั้งมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2476
นอกจากนี้ ตามส่วนต่างๆ ของอุโบสถ ยังแฝงไปด้วยปริศนาธรรม อาทิ ทางขึ้นลงอุโบสถมี 4 ทิศ หมายถึง อริยสัจ 4 คือ ความจริงอันประเสริฐ ประกอบด้วย ทุกข์ สมุทัย นิโรธ มรรค
ในส่วนของส่วนกำแพงแก้วด้านข้างทั้ง 4 ทิศรอบอุโบสถ เป็นรูปพระยานาคราช ที่แผ่พังพาน 5 เศียร หมายถึงศีล 5 เตือนใจให้พุทธศาสนิกชนประพฤติปฏิบัติอยู่ในศีล 5 ข้อ จะทำให้ชีวิตตนเองประสบแต่ความสุขความเจริญ ส่วนรูปปั้นที่เป็นหงส์บริเวณส่วนท้ายเรือ เปรียบเสมือนการประคับประคองให้เรือ ลำนี้ไปตลอดรอดฝั่ง สู่สรวงสวรรค์ และนิพพาน ส่วนมุมอุโบสถทั้ง 4 ทิศ ก็มีรูปปั้นท้าวจตุโลกบาล ยืนรักษาการคุ้มครองป้องกันภยันตรายสิ่งที่ไม่ดีไม่สามารถกล้ำกรายเข้าไปภายในเขตพระอุโบสถได้
วัดป่ายางหัวช้าง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม
วัดป่ายางหัวช้าง อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม สายวัดป่ากรรมฐาน เหมาะสำหรับปฎิบัติธรรม เพราะเป็นพื้นที่สงบ เงียบ มีธรรมชาติส่วนใหญ่ และมีสัตว์นานาพันธุ์ ผู้ชายก็สามารถปฎิบัติธรรมอยู่วัดได้ ผู้หญิงก็สามารถปฎิบัติธรรมอยู่วัดได้ เพราะที่วัดมีเขตแม่ชี สามารถเข้าพัก ปฎิบัติจิต ปฎิบัติใจ ให้เย็นสงบได้ดี
วัดพุทธวราราม(วัดป่าวังน้ำเย็น)
"วัดพุทธวนาราม" หรือ วัดป่าวังน้ำเย็น ตั้งอยู่ที่บ้านวังน้ำเย็น ต.เกิ้ง อ.เมือง จ.มหาสารคาม พื้นที่กว่า 30 ไร่ ได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นวัดที่ถูกต้องเมื่อวันที่ 22 พ.ย.2555 สังกัดสงฆ์มหานิกาย
ความเป็นมาของการสร้างวัดป่าวังน้ำเย็น สืบเนื่อง จากในปี พ.ศ.2549 ขณะที่พระอาจารย์สุริยันต์ ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดบูรพาเทพนิมิต อ.กุฉินารายณ์ จ.กาฬสินธุ์ ท่านเป็นศิษย์ หลวงปู่คำพันธ์ โฆสปัญโญ พระเกจิอาจารย์ชื่อดังภาคอีสาน ทำให้ญาติโยมชาวมหาสารคามมีความเลื่อมใสศรัทธา ร่วมบริจาคที่ดินบริเวณที่ตั้งวัดป่าวังน้ำเย็นในปัจจุบัน ให้พระอาจารย์ สุริยันต์ สร้างวัด
สิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่สำคัญคู่วัดป่าวังน้ำเย็น ที่พุทธศาสนิกชนที่มาเยือนไม่ควรพลาดชมและกราบนมัสการขอพร เพื่อความเป็นสิริมงคล คือ พระพุทธรูปทรงเครื่อง หน้าตักขนาด 5 นิ้ว 3 องค์ สร้างจากทองคำบริสุทธิ์ น้ำหนักรวมกว่า 12 กิโลกรัม พระพุทธรูปทองคำทั้ง 3 องค์
พระพุทธรูปมิ่งเมือง หรือพระพุทธรูปสุวรรณมาลี
เป็นพระพุทธรูปสมัยทวารวดีสร้างขึ้นด้วยหินทรายแดง เหมือนพระพุทธรูปยืนมงคล พระพุทธรูปทั้งสององค์นี้สร้างขึ้นในเวลาเดียวกันคือ เมื่ออำเภอกันทรวิชัยฝนแล้ง ผู้ชายสร้างพระพุทธรูปมิ่งเมือง ผู้หญิงสร้างพระพุทธรูปยืนมงคล เสร็จพร้อมกันแล้วทำการฉลองยางมโหฬาร ปรากฏว่าตั้งแต่ได้สร้างพระพุทธรูปทั้งสองค์แล้วฝนก็ตกต้องตามฤดูกาล พระพุทธรูปยืนมงคล ตั้งอยู่ที่ ม. 1 ต.โคกพระ อ.กันทรวิชัย จ.มหาสารคาม
พระพุทธรูปทั้งสององค์ และพระพิมพ์กันทรวิชัย เป็นพระคู่บ้านคู่เมือง เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพบูชาของชาวอำเภอกันทรวิชัย และชาวจังหวัดมหาสารคามทุกคน ไม่ว่าท่านจะกราบไหว้ขอพร หรือบนบานศาลกล่าว ก็จะได้สมใจนึกทุกประการ
พระพุทธรูปยืนวัดสุวรรณาวาสอำเภอกันทรวิชัย มีเรื่องเล่าว่าถิ่นที่เป็นอำเภอกันทรวิชัยปัจจุบันนี้เดิมเป็นเมืองชื่อ เมืองคันธาร์ธิราช มีเจ้าเมืองขอมปกครอง ต่อมาได้กลายเป็นเมืองร้างเจ้าเมืองคันธาร์ธิราชองค์สุดท้ายชื่อ ท้าวลินทองหรือสิงห์โตดำ ท้าวสิงโตดำมีนิสัยโหดร้ายและได้แย่งราชสมบัติจากบิดาโดยจับขังและให้อด อาหารจนสิ้นชีวิตและสั่งให้ฆ่าพระมารดาที่พยายามแอบนำอาหารไปให้ ภายหลังท้าวสิงโตดำเมื่อได้ครองเมืองแล้วเกิดมีแต่ความร้อนรุ่มกระวนกระวาย โหรจึงแนะนำให้สร้างพระพุทธรูปเพื่อล้างบาป ท้าวสิงโตดำจึงได้สร้างพระพุทธรูปยืน ๒ องค์ องค์หนึ่งอยู่กลางเมืองเพื่อระลึกถึงพระบิดาปัจจุบันอยู่ที่วัดสุวรรณาวาส ใกล้ตลาดอำเภอกันทรวิชัยและอีกองค์หนึ่งอยู่นอกเมืองเพื่อระลึกถึงพระมารดา พระพุทธรูปยืนองค์นี้ปัจจุบันอยู่ใต้ต้นโพธิ์ในวัดพุทธมงคลบ้านสระ และเมื่อพระเจ้าสิงโตสิ้นชีวิตชาวเมืองได้นำไปฝังที่ป่านอกเมืองและสร้างพระ นอนเหนือหลุมฝังศพ ปัจจุบันเรียกว่า ดอนพระนอน กล่าวกันว่าผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้จะประสบโชคร้ายเนื่องจากกระแสแห่งความโหดร้ายของท้าวสิงโต ปัจจุบันนี้ไม่มีผู้ใดพบเห็นพระนอนองค์นี้อีกเลย..
วัดพุทธมงคล หรือ หลวงพ่อพระยืน
หลวงพ่อพระยืน (วัดสุวรรณาวาส) หลวงพ่อพระยืน (วัดพุทธมงคล) ทั้งสองพระองค์ทรงอานุภาพ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นปูชนียวัตถุ ที่ควรแก่กาสักการะเคารพบูชายิ่ง ทั้งสององค์นี้ชาวบ้านนิยมเรียกกัน ว่า " หลวงพ่อพระยืน " เป็นพระพุทธรูปที่ศักดิ์สิทธิ์ยิ่งเป็นมิ่งขวัญเป็นที่พึ่งพาทางใจของชาวพุทธ ทุกถ้วนหน้าโดยเฉพาะ ชาวกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม และเป็นที่เคารพบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไปพระพุทธรูปทั้งสององค์นี้ เป็นปรางสรงน้ำ มีความสูงตลอดองค์ประมาณ 8 ศอก กว้าง 2 ศอก พระเนตรและเนื้อองค์พระ สร้างด้วยศิลาแลงอย่างดี เป็นพระพุทธรูปที่นิยมสร้างในสมัยขอมก่อนยุคสุโขทัย
หลวงพ่อพระยืนทั้งสอง ผินพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์อยู่ห่างกันประมาณ 1,250 เมตร เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองตามตำนานหรือประวัติที่หาหลักฐานยืนยันได้จากใบเสมาที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระ เขียนเป็นภาษาขอม ว่าสร้างปีฮวดสง่า พุทธศักราช 1399 ปัจจุบันยังมีตัวอักษรปรากฏที่ใบเสมาแต่เลอะเลือนมากแล้ว
ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมามีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าได้รับฟังจากบรรพบุรุษเล่าว่าเดิมที่ดินแถบนี้ขอมได้ครอบครองมาก่อน ต่อมาทางนครเวียงจันทร์มีอำนาจเข้าครอบครองจากขอม มีเจ้าผู้ครอบครองโดยอิสระ เรียกกันว่า “เมืองกันทาง” หรือ “เมืองคันธาธิราช”
หลวงพ่อพระยืนทั้งสอง ผินพระพักตร์ไปทางทิศทักษิณ หลวงพ่อพระยืนทั้งสององค์อยู่ห่างกันประมาณ 1,250 เมตร เป็นปูชนียวัตถุเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองตามตำนานหรือประวัติที่หาหลักฐานยืนยันได้จากใบเสมาที่ฝังอยู่ใกล้องค์พระ เขียนเป็นภาษาขอม ว่าสร้างปีฮวดสง่า พุทธศักราช 1399 ปัจจุบันยังมีตัวอักษรปรากฏที่ใบเสมาแต่เลอะเลือนมากแล้ว
ตามคำบอกเล่าสืบทอดกันมามีผู้เฒ่าผู้แก่บอกว่าได้รับฟังจากบรรพบุรุษเล่าว่าเดิมที่ดินแถบนี้ขอมได้ครอบครองมาก่อน ต่อมาทางนครเวียงจันทร์มีอำนาจเข้าครอบครองจากขอม มีเจ้าผู้ครอบครองโดยอิสระ เรียกกันว่า “เมืองกันทาง” หรือ “เมืองคันธาธิราช”
ตั้งอยู่ในเขตท้องที่เขตเทศบาลเมืองโกสุมพิสัย อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม บริเวณ เขตวนอุทยานโกสัมพี ห่างจากตัวเมืองมหาสารคามประมาณ 24 km ใช้เวลาขับรถประมาณ 20 นาที
ประวัติวนอุทยานโกสัมพี
เดิมพื้นที่วนอุทยานโกสัมพี เป็นที่ดินสาธารณประโยชน์ (ดอนมเหศักดิ์) ตั้งอยู่บ้านคุ้มกลาง ตำบลหัวขวาง ในเขตเทศบาล ตำบลหัวขวาง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม อยู่ติดแม่น้ำชี และมีองค์หลวงพ่อมิ่งเมือง ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้าน คู่เมืองของชาวอำเภอโกสุมพิสัยกราบไหว้บูชา นอกจากนี้ยังมีดอนปู่ตา พื้นที่มีสภาพเป็นป่าไม้เบญจพรรณ ต้นไม้ส่วนใหญ่เป็นไม้ยืนต้นขึ้นเป็นจำนวนมากและมีฝูงลิงแสมอาศัยอยู่เป็นจำนวน กว่า 500 ตัว ป่าหนองบุ่งแห่งนี้ เป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิ์ มีศาลเจ้าปู่ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวอำเภอโกสุมพิสัยแม้แต่ลิงแสมที่อาศัยอยู่เขตวนอุทยานโกสัมพีก็เชื่อกันว่า เป็นลิงของเจ้าปู่ไม่มีใครกล้าแตะต้อง
0 ความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น